งานเสาเข็มดินซีเมนต์ Soil Cement Column (SCC)
การทำซีเมนต์ คอลัมน์ หรือ เสาเข็มดินซีเมนต์ (Soil Cement Column) เป็นเทคนิคการปรับปรุงคุณภาพดินฐานรากให้มีความสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้เพิ่มขึ้น ลดการทรุดตัวในชั้นดินอ่อน
การทำเสาเข็มดินซีเมนต์ (Soil Cement Column, SCC) เป็นเทคนิคการปรับปรุงคุณภาพดินฐานรากให้มีความสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้เพิ่มขึ้น ลดการทรุดตัวในชั้นดินอ่อน ทำโดยการผสมน้ำปูน (Cement Milk) กับดินเหนียวอ่อน หรือ ดินทรายหลวมเป็นการผสมแบบเปียก โดยใช้น้ำแรงดันสูง หรือ ใบพัดทำลายโครงสร้างดินเดิม แล้วอัดฉีดน้ำปูนด้วยแรงดันสูง (Jet Grouting) หรือ อัดฉีดน้ำปูนแรงดันต่ำแล้วใช้ใบพัดตีผสม (Mechanical Mixing Low Pressure Grout) เมื่อน้ำปูนผสมเข้ากับดิน จะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างดินกับน้ำปูนทำให้ดินแข็งแรงกว่าเดิม ไม่น้อยกว่า 10 เท่า ปัจจุบันเสาเข็มดินซีเมนต์ (Soil Cement Column) ได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในงานฐานราก ถนนบนดินอ่อน หรือดินหลวม งานป้องกันการพังของลาดตลิ่ง งานป้องกันการพังของงานขุดลึก งานคันกั้นน้ำ การทำให้บ่อดินเล็กลงและมีเสถียรภาพ งานฐานรากอาคารขนาดเล็ก งานฐานรากไซโลและแทงก์ขนาดใหญ่ งานป้องกันแรงสั่นสะเทือน รวมถึงงานป้องกันการรั่วซึมของคันกั้นน้ำและอ่างเก็บน้ำ
ผู้ทำการศึกษา วิจัยและค้นคว้าด้านเสาเข็มดินซีเมนต์ (Soil Cement Column, SCC) รองศาสตราจารย์ เกษม เพชรเกตุ , รองศาสตราจารย์ พินิต ตั้งบุญเติม และ รองศาสตราจารย์ วิชัย สังวรปทานสกุล ได้ทำการศึกษาและค้นคว้าด้านเสาเข็มดินซีเมนต์ (Soil Cement Column) เป็นรายแรกของประเทศไทย ศึกษา ณ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529
ผู้ทำการศึกษา วิจัยและค้นคว้าด้านเสาเข็มดินซีเมนต์ (Soil Cement Column, SCC) รองศาสตราจารย์ เกษม เพชรเกตุ , รองศาสตราจารย์ พินิต ตั้งบุญเติม และ รองศาสตราจารย์ วิชัย สังวรปทานสกุล ได้ทำการศึกษาและค้นคว้าด้านเสาเข็มดินซีเมนต์ (Soil Cement Column) เป็นรายแรกของประเทศไทย ศึกษา ณ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529