ประวัติและกรณีศึกษาการใช้เสาเข็ม 
ดินซีเมนต์ในประเทศไทย

ประวัติและกรณีศึกษาการใช้เสาเข็มดินซีเมนต์ในประเทศไทย
 
รศ.เกษม เพชรเกตุ     
 ประธานกรรมการ   

นายวรพจน์ เพชรเกตุ   
กรรมการผู้จัดการ

บริษัทเกษมดีซายน์แอนด์คอนซัลแทนท์จํากัด

 
บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการรวบรวมผลงานวิจัย ผลงานออกแบบ และบริหารโครงการบางส่วน งานวิจัยที่รวบรวมไว้ในบทความนี้รวบรวมตัวอย่างสิ่งจําเป็นที่ต้องทดสอบ เช่น การทดสอบดินในสนาม ต้องทราบความลึกของชั้นดินอ่อนสําหรับ Soft Clay ต้องทราบความลึกของชั้นดินหลวมสําหรับดินทราย ค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ เช่น , LL, PL, , qu, pH – Content, Organicmater Content, NaCl Content ต้องทดสอบให้เพียงพอ การจําแนกดินทางวิศวกรรม ต้องจําแนกให้ถูกต้องจริงๆ ต้องนําดินจากแหล่งที่จะทํา การก่อสร้างมาลองผสมกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในห้องทดลองหลายๆอัตราส่วนผสม แล้วทดสอบอย่างน้อย เพื่อหาค่า Unconfined Compressive Strength แต่ถ้างานที่สําคัญ ให้ทดสอบหาค่า Flexural Strength และค่าความคงทนด้วย การออกแบบขอแนะนําให้ใช้แบบ Sweroad คือ Low Area Ratio การวาง Spacing ของ Column ให้วางเป็น Grid ประมาณ 1.50 เมตร ถึง 2.50 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของ Cement Column ควรมีขนาด 0.50 เมตร ถึง 1.0 เมตร ต้องคิดเรื่อง Transform Strength ใช้ค่า Su ที่ Section เดียวกัน ทั้ง Soft Clay และ Cement Column การออกแบบต้องคํานึงถึง Bearing Capcity แบบฐานรากตื้นก่อน แล้วคํานึงถึง V = 0, H = 0 และ M = 0 ค่า Displacement ขึ้นกับ Limit ของงานนั้นๆ หรือตาม Bjerrum (1963)
 
บทนํา
 
ปัจจุบันมีการนําเสาเข็มดินซีเมนต์(Cement Columns) มาใช้แก้ปัญหาของฐานรากของดินเหนียว อ่อน หรือดินทรายหลวม เช่น งานฐานรากของถนน, สนามบิน, ถังนํ้ามัน, งานแก้ไขลาดริมตลิ่งริมบึง, งาน Slope Protection, งานขุดลึก , งานกันการซึมผ่านของอ่างเก็บนํ้า, บ่อขยะมูลฝอย, เขื่อนใต้ดิน, งานป้องกัน ฐานรากของโบราณสถาน, งานลดความรุนแรงของแผ่นดินไหว ฯลฯ ผู้ออกแบบต้องทําการศึกษาวิจัย คุณสมบัติของดินทางวิศวกรรม, ทางเคมี– ฟิสิกส์และต้องลองนําดินบริเวณที่จะออกแบบฐานรากมาผสม กับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เพื่อหาปริมาณปูนซีเมนต์ที่เหมาะสมสําหรับดินแหล่งนั้นๆ การออกแบบก็เช่นกัน ผู้ออกแบบต้องตัดสินว่าจะออกแบบตามวิธีการของประเทศญี่ปุ่น คือ Area Ratio ระหว่าง พื้นที่หน้าตัดของ Cement Column ต่อพื้นที่หน้าตัดของดินเดิมสูง คือแปรผันระหว่างร้อยละ 30 – 90 ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน หรือจะใช้ Area Ratio ตาม Broms and Boman (1975) หรือ Sweroad (1992) คือใช้ Cement Column 0.50 – 1.00 m. การจัดระยะห่าง (Spacing) ไม่เกิน 2.0 2.0 m. วางเป็นตาราง (Grid) แล้วทําการคํานวณเป็นกรณีๆ ไป แต่ผู้เขียนใช้ตาม Broms and Boman และ Sweroad ในการพิจารณา ออกแบบเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

Download File : ประวัติและกรณีศึกษาการใช้เสาเข็มดินซีเมนต์ในประเทศไทย
Share this post :